โครงการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศน้ำระดับตำบล


-ความเป็นมาของโครงการ-

          การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพนั้น นอกจากการมองภาพรวมในระดับลุ่มน้ำหลักของประเทศแล้ว ความรู้ความเข้าใจสภาพของแต่ละพื้นที่ในระดับลุ่มน้ำย่อยหรือในระดับพื้นที่ย่อยก็มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับพื้นที่ย่อยจะส่งผลกระทบต่อระดับพื้นที่ใหญ่ขึ้น ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เมาะสมกับจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละพื้นที่ จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนให้กับระบบแหล่งน้ำของชุมชน และช่วยประหยัดงบประมาณในการลงทุนด้านทรัพยากรน้ำในระดับประเทศ     

          เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมในการส่งเสริมการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สสน.ได้ จัดทำ “โครงการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศน้ำระดับตำบล” ปี 2555 - 2561 โดยมีการดำเนินงานร่วมกับเทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล เป้าหมายจำนวน 3,100 ตำบล ดำเนินงานจริง 3,628 ตำบลทั่วประเทศ ซึ่งพบว่าข้อมูลแหล่งน้ำจากท้องถิ่นภายใต้การดูแลของเทศบาล และ อบต. ช่วยเติมเต็มข้อมูลแหล่งน้ำจากส่วนกลางที่ยังขาดหายได้เป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพยากรน้ำได้สมบูรณ์ขึ้น ประกอบกับการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้สามารถจัดเก็บข้อมูลและจัดทำแผนที่แหล่งน้ำได้ด้วยตนเองนั้น ทำให้ท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจถึงศักยภาพ และระบบสมดุลของแหล่งน้ำในพื้นที่ สามารถปรับปรุง และใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างเหมาะสม

-วัตถุประสงค์ของโครงการ-

  1. เพื่อมีฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำและข้อมูลโครงการด้านทรัพยากรน้ำระดับตำบล

  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ในการใช้งานระบบภูมิสารสนเทศ และวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่

  3. เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการน้ำของภาครัฐในระดับตำบล

-เป้าหมายและผลสำเร็จของโครงการ-

  1. มีฐานข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลโครงการด้านทรัพยากรน้ำระดับตำบล

  2. มีเครือข่ายใช้แผนที่ในการจัดการน้ำของภาครัฐในระดับตำบล

  3. หน่วยงานท้องถิ่นสามารถเข้าใจข้อมูล และใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการวางแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำร่วมกับพื้นที่ใกล้เคียง

  4. ข้อเสนอแนะการบำรุงรักษาระบบข้อมูลและทิศทางการบริหารจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย

    พื้นที่เสียงภัยน้ำท่วม – น้ำแล้ง

    พื้นที่นอกเขตชลประทาน

    ขยายผลจากกลุ่มเครือข่ายตำบลที่ได้ดำเนินการแล้วในปี 2555 – 2561

-พื้นที่ดำเนินงานปี 2562 จำนวน 900 ตำบล ประกอบด้วย-

  • กลุ่มลุ่มน้ำยม-น่าน ประกอบด้วย จังหวัดน่าน จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์

  •  กลุ่มลุ่มน้ำชี ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด

  •  กลุ่มลุ่มน้ำมูล ประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์

  • กลุ่มลุ่มน้ำปราจีนบุรี-โตนเลสาป ประกอบด้วย จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว

  • กลุ่มลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา-ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ประกอบด้วย จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา

-โครงการพัฒนาระบบภูมิสานสนเทศน้ำระดับตำบล ได้ดำเนินการแล้วในปี 2555-2560-

ปีดำเนิงาน เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน
ปีที่ 1 (2555) 500 ตำบล 519 ตำบล
ปีที่ 2 (2557) 300 ตำบล 372 ตำบล
ปีที่ 3 (2558) 600 ตำบล 732 ตำบล
ปีที่ 4 (2559) 500 ตำบล 656 ตำบล
ปีที่ 5 (2560) 600 ตำบล 684 ตำบล
ปีที่ 6 (2561) 600 ตำบล 679 ตำบล
ปีที่ 7 (2562) 900 ตำบล ปีดำเนินงานปัจจุบัน

 

 


-การดำเนินงาน-

 

ครั้งที่ 1 พัฒนาศักยภาพในการใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พัฒนาศักยภาพในการใช้ภูมิสารสนเทศให้แก่หน่วยงานท้องถิ่น โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การใช้งานระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ขั้นพื้นฐาน เพื่อการบริหารจัดการน้ำระดับท้องถิ่น” เพื่อประยุกต์ใช้แผนที่ การดู และอ่านความหมายแผนที่ การใช้โปรแกรมในการจัดทำแผนที่ (QGIS) และร่วมกันจัดทำแผนที่น้ำระดับตำบล

ครั้งที่ 2 แผนที่น้ำระดับตำบลสู่การปฏิบัติงาน โดยดำเนินงาน ร่วมวางแผนพัฒนาโครงการหน่วยงานท้องถิ่นสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลอย่างต่อเนื่องโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการวางแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ” ในการนำความรู้ด้านภูมิสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรน้ำ รวมไปถึงการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่ข้างเคียงได้ เพื่อให้แนวทางการแก้ปัญหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ครั้งที่ 3 พัฒนาศักยภาพสร้างเครือข่ายหน่วยงานท้องถิ่น โดยดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการวางแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ระดับกลุ่มตำบล” ขึ้น เพื่อร่วมกันจัดทำแผนที่ความละเอียดสูงระดับตำบล ที่มีข้อมูลแหล่งน้ำเชิงพื้นที่ครบถ้วน สามารถใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานภาคสนามและวางแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ของตนเองและเครือข่ายลุ่มน้ำย่อยข้างเคียง

ครั้งที่ 4 ต่อยอดองค์ความรู้ในการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศขั้นพื้นฐาน ไปสู่ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การใช้งานระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ขั้นสูง เพื่อการบริหารจัดการน้ำระดับท้องถิ่น”

 

-ผลการดำเนิงานพื้นที่เครือข่ายปี 2555-2561-



-ตัวอย่างแผนที่น้ำระดับตำบล-